02-869-7779

hours : mon - sat 08.30 - 17.00

CARBON STEEL TUBES – เหล็กท่อกลมดำ

รายละเอียดสินค้า

เหล็กท่อกลมดำ มีชื่อที่นิยมเรียกใช้กันอย่างหลากหลาย เช่น ท่อแป๊บดำ เหล็กหลอด เหล็กกลมดำ ท่อดำ โดยเหล็กท่อกลมดำ คือ เหล็กที่มีลักษณะเป็นทรงกลมแบบกลวง มีน้ำหนักเบา แต่คงความแข็งแรง ทนทาน ตะเข็บเรียบ สามารถรับแรงดันได้ดี ทั้งแรงลมและแรงเสียดทาน สะดวกแก่การเชื่อมต่อ

ใช้สำหรับงานก่อสร้าง งานโครงสร้างที่รับน้ำหนักไม่มากนัก เช่น สำหรับใช้เป็นท่อลำเลียง ท่อประปา ท่อชลประทาน ระบบน้ำภายในอาคาร ทำนั่งร้าน โครงถักป้ายจราจร หรืองานก่อสร้าง งานตกแต่งทั่วๆ ไป งานอาคารที่พักอาศัย โรงงาน อาคารอเนกประสงค์
มาตรฐาน
  • ประเทศไทยได้กำหนดมาตรฐานเพื่อควบคุมคุณภาพ มาตรฐานที่ใช้อ้างอิงคือ มอก. 107-2561
  • มีความยาวมาตรฐาน 6 เมตร

Description

เหล็กท่อกลมดำ เป็นหนึ่งในเหล็กรูปพรรณ (Structural steel) ที่ใช้สำหรับการ ก่อสร้าง ที่รับน้ำหนักไม่มากนัก งานแป และงานประกอบทั่วไป นอกจากนี้ ยังใช้สำหรับทำท่อลม และท่อน้ำมันได้อีก มีขนาดมาตรฐาน เริ่มต้นคือ 1/2 นิ้ว x 1.2 มม. (ครึ่งนิ้ว) มีทั้งแบบมีตะเข็บและไม่มีตะเข็บ ตะเข็บเรียบ สามารถนำไปใช้งานได้สะดวก

PRODUCT SPECIFICATION
NOMINAL DIMENSION
OUTSIDE DIAMET
THICKNESS
SECTIONAL AREA
CALCULATE WEIGHT
DN
OD
T
A
W
DN
in.
mm
mm
cm2
kg/m
15 1/2 21.7 2 1.24 0.97
20 3/4 27.2 2 1.58 1.24
20 3/4 27.2 2.4 1.8 1.41
25 1 34 2.3 2.29 1.8
32 1 1/4 42.7 2.3 2.92 2.29
32 1 1/4 42.7 2.5 3.16 2.48
40 1 1/2 48.6 2.3 3.35 2.63
40 1 1/2 48.6 2.3 3.62 2.84
40 1 1/2 48.6 2.5 4.03 3.16
40 1 1/2 48.6 3.2 4.56 3.58
50 2 60.4 2.3 4.21 3.3
50 2 60.4 3.2 5.76 4.52
50 2 60.4 4 7.1 5.57
65 2 1/2 76.3 2.8 6.47 5.08
65 2 1/2 76.3 3.2 7.35 5.77
65 2 1/2 76.3 4 9.09 7.13
80 3 89.1 2.8 7.59 5.59
80 3 89.1 3.2 8.64 6.78
80 3 89.1 4 10.69 8.39
90 3 1/2 101.6 3.2 9.89 7.76
90 3 1/2 101.6 4 12.26 9.63
100 4 114.3 3.2 11.17 8.77
100 4 114.3 3.5 12.18 9.58
100 4 114.3 4.5 25.52 12.2
125 5 139.8 3.6 15.4 12.1
125 5 139.8 4 17.07 13.4
125 5 139.8 4.5 19.13 15
125 5 139.8 6 25.22 19.8
150 6 165.2 4.5 22.72 17.8
150 6 165.2 5 25.16 19.8
150 6 165.2 6 30.01 23.6
150 6 165.2 7.1 35.26 27.7
175 7 190.7 5 22.9 29.17
175 7 190.7 7 31.7 40.4
200 8 216.3 4.5 29.94 23.5
200 8 216.3 5.8 38.36 30.1
200 8 216.3 6 39.61 31.1
200 8 216.3 7 46.03 36.1
200 8 216.3 8 52.35 41.1
200 8 216.3 8.2 53.61 42.1
ท่อเหล็กดำ (Carbon Steel Tubes) กับรูปแบบการนำไปใช้งาน
เหล็กท่อกลมดำ มีรูปแบบการนำไปใช้งาน 2 รูปแบบใหญ่ๆ ได้แก่
  • 1. งานโครงสร้าง และงานตกแต่งสถาปัตยกรรม เช่น โครงหลังคาสนามกีฬา โครงสร้างอาคาร เสาอาคารขนาดเล็ก-กลาง ราวกั้น ราวมือจับขั้นบันได รั้ว เป็นต้น
  • 2. งานระบบภายในอาคาร เช่น ท่อน้ำ ท่องานระบบดับเพลิง ท่อระบบน้ำหล่อเย็น และท่อสำหรับระบบท่อหล่อเลี้ยง เป็นต้น
ประเภทของท่อกลมดำ เหล็กท่อดำนั้นแบ่งได้คร่าวๆ 2 แบบดังนี้
  • ท่อมีตะเข็บ (Welded Pipe) มีลักษณะมีตะเข็บที่ เป็นท่อที่เหมาะกับแรงดันที่ไม่สูงนัก

    เป็นท่อที่เหมาะกับแรงดันที่ไม่สูงนัก เช่น เป็นท่อปล่อยน้ำทิ้ง ท่อปล่อยลมไหลผ่าน ท่อน้ำประปา สาเหตุที่ไม่เหมาะกับงานที่ต้องทนแรงดันสูง เพราะกรรมวิธีการผลิต การเชื่อมรอยต่อให้ติดกันกลายเป็นท่อ มีโอกาสที่จะเกิดรอยแตกตรงส่วนรอยต่อได้

    ท่อชนิดนี้มีกรรมวิธีการผลิตคร่าวๆ คือ การนำแผ่นคอยล์มาคลี่ออก จากนั้นก็นำมาม้วน ซึ่งการม้วนก็จะมีทั้งวิธีการม้วนตามแนวยาว หรือม้วนแบบ Spiral จากนั้นก็เชื่อมตรงรอยต่อ และตัดตามความยาวตามที่เราต้องการ อย่างไรก็ตามท่อมีตะเข็บ ก็ยังสามารถแบ่งประเภทได้อีก ตามวิธีการเชื่อมตะเข็บ ดังต่อไปนี้

    • Electric Resistance Welding (ERW) เป็นวิธีการเชื่อมโดยอาศัยแรงอัด (pressing) ในขณะที่ตะเข็บหลอมละลายด้วยความร้อนที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า โดยไม่มีการอาร์ค (arc) กรรมวิธีผลิตเริ่มต้นด้วยการคลี่เหล็กแผ่นออกจากคอยล์ จากนั้นจะค่อยๆม้วนเหล็กแผ่นให้เป็นรูปทรงกระบอกอย่างต่อเนื่อง ผ่านลูกรีดหลายแท่นโดยไม่ต้องใช้ความร้อน (cold forming) แล้วทำการผ่านกระแสไฟฟ้าตกคร่อมระหว่างขอบทั้งสองของตะเข็บ ความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าจะทำให้ขอบของเหล็กร้อนแดงที่อุณหภูมิระหว่าง 1200 °C ถึง 1400°C (2200°F ถึง 2600°F) แล้วจึงกดอัดให้ตะเข็บติดกัน ท่อที่ผลิตด้วยวิธีนี้จะมีตะเข็บตรง (Longitudinal welded seam)
    • Butt Welding (FBW) หรือ Hot Pressure Welding เป็นวิธีการเชื่อมโดยอาศัยแรงอัด (pressing) ในขณะที่ตะเข็บร้อนแดงด้วยความร้อนจากเตาเผา กรรมวิธีผลิตเริ่มต้นด้วยการคลี่เหล็กแผ่นออกจากคอยล์ จากนั้นป้อนแผ่นเหล็กผ่านเตาเพื่อทำการให้ความร้อน โดยแผ่นเหล็กจะได้รับความร้อนทั่วทั้งแผ่น แต่ด้วยเทคนิคการจัดเรียงหัวเผาในเตา จัดให้บริเวณขอบแผ่นเหล็กร้อนที่สุด จากนั้นค่อยๆ ม้วนเหล็กแผ่นให้เป็นรูปทรงกระบอกอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านลูกรีดหลายแท่น (hot forming) แล้วจึงกดอัดให้ตะเข็บติดกัน ท่อที่ผลิตด้วยวิธีนี้จะมีตะเข็บตรง (Longitudinal welded seam)
    • Electric Fusion Welding (EFW) เป็นกระบวนการเชื่อมที่ใช้กระแสไฟฟ้าในการอาร์คบริเวณแนวเชื่อมให้หลอมละลายติดกัน โดยอาจใช้ลวดเชื่อม (filler metal) หรือไม่ใช้ก็ได้ โดยทั่วๆไป ท่อเหล็กมีตะเข็บ หรือท่อสแตนเลสมีตะเข็บที่เราพบเจอ จะผลิตด้วยวิธีการ ERW
  • ท่อไร้ตะเข็บ (Seamless Pipe) เป็นท่อที่ใช้ในงานที่ต้องรับแรงดันสูง

    ท่อเหล็กไม่มีตะเข็บ (ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ, Seamless Pipe, SMLS Pipe) เหมาะกับงานที่ต้องรับแรงดันสูง เช่นงานน้ำมัน งานแก็ส เพราะเป็นงานที่ต้องอาศัยความปลอดภัยมาก ท่อจะแตกไม่ได้ กรรมวิธีในการผลิตท่อเหล็กไม่มีตะเข็บโดยคร่าวๆ คือ การนำเพลาตันไปหลอมให้ร้อน จากนั้นก็เจาะทะลุเพลาตันให้เป็นรูกลวงไป เราก็จะได้ท่อเหล็กไม่มีตะเข็บ

    ท่อแป๊บดำ ท่อแป๊บกลมปกติจะมีสีดำ แต่หากเคลือบกัลวาไนซ์หรือที่เรียกว่า ท่อเคลือบกัลวาไนซ์ จะมีสีขาว ทั้งนี้ ท่อเคลือบกัลวาไนซ์จะเคลือบเพื่อให้ทนสนิมมากขึ้น

การนำไปใช้งาน

เหล็กท่อกลมดำ (Carbon Steel Tubes) นำไปใช้สำหรับงานก่อสร้าง งานโครงสร้างที่รับน้ำหนักไม่มากนัก เช่น

  • สำหรับใช้เป็นท่อลำเลียง ท่อประปา ท่อชลประทาน ระบบน้ำภายในอาคาร ทำนั่งร้าน
  • โครงถักป้ายจราจร หรือโครงสร้างป้ายต่างๆ
  • งานก่อสร้าง งานตกแต่งทั่วๆ ไป งานอาคารที่พักอาศัย โรงงาน อาคารอเนกประสงค์
  • งานเฟอร์นิเจอร์ เหล็กท่อกลมสามารถนำไปใช้งานเหล็กท่อกลมดำ
  • งานโครงสร้าง เหล็กท่อกลม ใช้ในงานโครงสร้าง
ท่อเหล็กเชื่อมแนวตะเข็บเกลียว (Spiral Pipe)

เป็นท่อที่เชื่อมด้วยวิธี Submerged Arc Welding (SAW) ซึ่งจะทำให้ได้แนวเชื่อมที่มีลักษณะขดเป็นวงคล้ายสปริง เมื่อใช้การเชื่อมด้วยวิธีนี้ จะทำให้สามารถผลิตท่อที่มีความยาวมากๆ ได้ รวมทั้งท่อที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่มีความกว้างมากๆ ก็ได้เช่นกัน ส่วนความหนาที่นิยมใช้กันจะประมาณ 4.5 -19.1 มม. ซึ่งท่อเชื่อมแบบ 2 ด้าน จะสามารถทนความดันได้มากกว่าท่อเชื่อมแบบแนวเชื่อมตรง 25% เมื่อเทียบที่ความหนาของผนังท่อเท่ากัน

ท่อเหล็กเชื่อมแนวตะเข็บเกลียว (Spiral pipe) กับรูปแบบการนำไปใช้งาน

ท่อเหล็กตะเข็บเกลียว เหมาะกับการใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องอาศัยความแข็งแรง ทนทานเป็นพิเศษ ได้แก่

  • ท่อสำหรับส่งน้ำดิบ
  • งานขุดเจาะ (dredging)
  • ท่อเข็มพืด
  • ระบบส่งน้ำที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่
  • ระบบงานชลประทาน
  • งานเสาเข็มทั้งประเภทชายฝั่งและกลางทะเล
  • งานโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่
  • ท่อระบบน้ำหล่อเย็น

OUR CUSTOMER

เราได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าในส่วนของภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนโครงการต่างๆ มากมาย เป็นความภาคภูมิใจ ในการพัฒนาองค์กรของเราให้มั่นคงมากยิ่งขึ้น