02-869-7779

hours : mon - sat 08.30 - 17.00

ROUND BAR – เหล็กเส้นกลม

รายละเอียดสินค้า

เหล็กเส้นกลม (Round Bar) หรือที่มักเรียกกันสั้นๆ ว่า RB ยังมีชื่อเรียกอีกหลากหลาย เช่น เหล็กเส้น เหล็กกลม เหล็กกลมตัน โดยเหล็กเส้นกลม จัดอยู่ในประเภทของเหล็กเส้น มีลักษณะเป็นเส้นกลม ผิวเรียบเกลี้ยง หน้าตัดกลม ไม่บิดเบี้ยว ไม่มีปีก ไม่มีรอยปริแตก ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน รับรองตามมาตรฐานมอก. 20-2559 โดยเกรดของเหล็กเส้นกลมจะใช้เป็น SR24 มีเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กเส้นอยู่ที่ 6 – 28 มม.

นิยมนำไปใช้ในการรับแรง สำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็กและงานก่ออิฐทั่วไป หรือใช้เป็นเหล็กปลอกในคาน ในเสา งานก่อสร้างขนาดกลางและขนาดเล็ก เช่น อาคารพาณิชย์ บ้าน และงานก่อสร้างทั่วๆ ไป ,งานก่อสร้างเสริมคอนกรีต เช่น อาคารพาณิชย์, สำนักงาน, ที่พักอาศัย, บ้านเรือนทั่วไป, งานเฟอร์นิเจอร์, สะพาน, ทำรั้ว, ถนน, พื้น, วัสดุอุปกรณ์งานการเกษตร และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ
มาตรฐาน
  • ประเทศไทยได้กำหนดมาตรฐานเพื่อควบคุมคุณภาพ มาตรฐานที่ใช้อ้างอิงคือ มอก. 20-2559
  • GRADE : SR24
  • มีความยาวมาตรฐาน 10 เมตร และ 12 เมตร

Description

เหล็กเส้นกลมคุณภาพดีต้องผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 20-2559 เกรด SR 24 ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้นเริ่มต้นจาก 6 มม. – 28 มม. มีความยาวมาตรฐาน 10 และ 12 เมตรตามลำดับ

เหล็กกลมผิวเรียบ SR24 มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 2400 ksc. (กก./ตร.ซม.) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดต่างๆ เช่น RB6 (หมายถึง Round Bar ขนาด ศก.6 มม.)

PRODUCT SPECIFICATION
TYPE
DIAMETER
Cross Sectional Area
Weight
(sq.mm)
kg/m
kg/10m
kg/12m
RB6 6 28.3 0.222 2.22 2.664
RB8 8 50.3 0.395 3.95 4.74
RB9 9 63.6 0.499 4.99 5.988
RB10 10 78.5 0.616 6.16 7.392
RB12 12 113.1 0.888 8.88 10.656
RB15 15 176.7 1.387 13.87 16.644
RB19 19 283.5 2.226 22.26 26.712
RB22 22 380.1 2.984 29.84 35.808
RB25 25 490.9 3.853 38.53 46.236
RB28 28 615.8 4.834 48.34 58.008

เหล็กเส้นกลม คือ เหล็กเส้นสำหรับงานก่อสร้าง หรือเรียกสั้นๆว่า RB

RB6 (เหล็กเส้นกลม 2 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก นิยมใช้ทำปอกเสา และปอกคาน

RB9 (เหล็กเส้นกลม 3 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก คล้ายกับเหล็กเส้นกลม 2 หุน

RB12 (เหล็กเส้นกลม 4 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป แต่ไม่เน้นงานยึดเกาะ เพราะเหล็กมีลักษณะเรียบมน ทำให้ยึดเกาะปูนไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนมากนิยมใช้กับงานกลึง เช่น งานกลึงหัวน๊อตต่างๆ

RB19 ใช้สำหรับงานทำถนน

RB25 ขึ้นไป ใช้ทำเป็นเหล็กสตัท เกรียวเร่ง สำหรับงานยึดโครงป้ายขนาดใหญ่สามารถรับแรง และน้ำหนักได้ดี

ทั้งนี้ เหล็กเส้นกลมมักไม่นิยมใช้ในงานยืดเกาะ เช่น ปูน เพราะเหล็กเส้นกลมมีผิวที่เรียบเนียน จึงยึดเกาะกับวัสดุอื่นๆ ได้ไม่ดีพอ ผู้รับเหมาจึงใช้เหล็กเส้นข้ออ้อยที่ยึดเกาะได้ดีกว่า แทนเหล็กเส้นกลม

ขั้นตอนการเลือกเหล็กเส้นกลมคุณภาพดี มีดังนี้
  • ผิวของเหล็กต้องเรียบ เกลี้ยง ไม่มีลูกคลื่นหรือรอยแตก
  • มีเส้นผ่านศูนย์กลางและน้ำหนักถูกต้อง
  • ถ้าทำการดัดโค้ง งอ ต้องไม่ปริแตกหรือหักได้โดยง่าย
  • เนื้อเหล็กต้องไม่เป็นสนิม แต่หากเป็นสนิมบ้างในบริเวณผิวเหล็ก ถือว่ายังสามารถใช้งานได้ นั่นเป็นเพราะสภาพอากาศของประเทศไทยมีความชื้นสูง จึงอาจจะทำให้เกิดสนิมบ้างนั่นเอง
ลักษณะการใช้งานเหล็กเส้นกลม
  • ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มากนัก
  • ใช้ทำปลอกเสา
  • ใช้ทำปลอกคาน
  • ไม่นิยมสำหรับงานยึดเกาะเช่นปูน เพราะเหล็กมีผิวเรียบมน ไม่เหมาะกับงานยึดเกาะ
  • ใช้ทำเป็นตะแกรงไวร์เมช ตะแกรงต่างๆ
ข้อพิจารณาเมื่อเลือกซื้อเหล็กเส้นกลม
  • ผิวของเหล็กต้องเรียบ เกลี้ยง ไม่มีลูกคลื่น ไม่มีปีก ไม่มีรอยแตก หน้าตัดต้องกลม ไม่เบี้ยว
  • เส้นผ่าศูนย์กลางและน้ำหนักต้องถูกต้อง เช่น SR24 ขนาด 9 มม. เมื่อวัดเส้นผ่าศูนย์กลางต้องได้ 9 มม. น้ำหนักต้องได้ 0.499 กก./ 1 เมตร ความยาวทั้งเส้นตามมาตรฐานต้องยาว 10 เมตร เป็นต้น
  • เมื่อดัดโค้งงอต้องไม่ปริแตกและหักง่าย
  • เหล็กต้องไม่เป็นสนิมกินเข้าไปในเนื้อเหล็ก แต่หากเป็นสนิมบ้างบนผิวเหล็ก อาจเป็นเรื่องของสภาพอากาศของเมืองไทย ไม่ต้องกังวล
โลหะวิทยาของเหล็กกล้า

เหล็กเส้นที่ผลิตในประเทศไทยนั้น ในเชิงวิชาการจัดได้ว่าอยู่ในหมวดเหล็กกล้าคาร์บอน ซึ่งเป็นเหล็กที่ได้คุณสมบัติการใช้งานจากธาตุผสมเพียง 3 ธาตุ อันได้แก่ คาร์บอน ซิลิกอน และ แมงกานีส นอกจากเหล็กกล้าคาร์บอนแล้ว เหล็กกลุ่มอื่นๆ ที่สำคัญได้แก่ เหล็กกล้าเครื่องมือและเหล็กกล้าผสม มีธาตุผสมของโครเมี่ยม นิกเกิล วาเนเดียม เหล็กกล้าความเร็วสูง อันได้แก่ เหล็กกล้าสำหรับงานเชื่อม ที่มีแมงกานีสสูง เป็นต้น

เหล็กกล้าคาร์บอนที่ผลิตในประเทศไทย สามารถแบ่งย่อยได้เป็นสองกลุ่ม อันได้แก่ เหล็กกล้าที่มีธาตุคาร์บอนน้อยกว่า 0.25% เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำนี้ นำมาทำเหล็กลวดและเหล็กเส้น กลุ่มที่สองนี้ได้แก่ เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง มีคาร์บอนระหว่าง 0.25-0.35% เหล็กกลุ่มนี้เหมาะที่จะนำไปทำเหล็กข้ออ้อย

ขั้นคุณภาพ
ส่วนประกอบทางเคมี
คาร์บอนสูงสุด
ฟอสฟอรัสสูงสุด
กำมะถันสูงสุด
SR24 0.28 0.058 0.058
ค่าแรงดึง และการยึดตัวที่เป็นข้อกำหนดการใช้งานของเหล็กกล้าคาร์บอน

โดยจะแบ่งได้เป็นสัดส่วนดังนี้

ส่วนผสมและอัตราส่วนการผสมของคาร์บอน ซิลิกอน แมงกานีส และในบางกรณีมีธาตุวานาเดียมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ความแข็งแรง แต่ขณะเดียวกัน ก็จะลดการยืดตัวของเหล็กเช่นกัน ในขณะที่แมงกานีสจะมีผลในการเพิ่มแรงดึงสูงสุดและการยืดตัว อย่างไรก็ตาม การปรับปริมาณของธาตุทั้งสาม ต้องให้กิดความสมดุล มิฉะนั้นจะทำให้เหล็กไม่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ

คุณภาพของเนื้อเหล็กระหว่างการหลอม และเท เป็นแท่ง เป็นส่วนสำคัญขั้นที่สอง เพื่อให้ได้เหล็กแท่งเนื้อสะอาด มีขนาดผลึก และการกระจายตัวทางเคมีที่สม่ำเสมอ

ประสิทธิภาพและวิศวกรรมของเครื่องรีดและการควบคุมการรีด โดยทางโรงงานเลือกใช้นวัตกรรมของเครื่องจักรสำหรับศตวรรษนี้ อันได้แก่เครื่องจักรทั้งชุด ควบคุมด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ แท่นรีด เป็นระบบ H-V และมีระบบการปรับลดอุณหภูมิของเหล็กที่แม่นยำ

ขั้นคุณภาพ
ความต้านแรงดึง
ความต้านแรงดึง
ความยืด (%)
SR24 ไม่น้อยกว่า 385 ไม่น้อยกว่า 235 ไม่น้อยกว่า 21
เหล็กข้อกลม กับ เหล็กข้ออ้อย ?

เหล็กเสริมในคอนกรีตแบ่งง่ายๆ เป็นสองประเภท คือ เหล็กเส้นกลม (Round Bars : RB) และเหล็กข้ออ้อย (Deformed Bars : DB) เหล็กเส้นกลมจะมีขนาดหน้าตัดประมาณตั้งแต่ 6 – 28 มม.ส่วนเหล็กข้ออ้อยจะมีขนาดหน้าตัดประมาณตั้งแต่ 10 – 40 มม. เหล็กทั้งสองประเภท จะมีการใช้งานที่แตกต่างกันโดยจะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นหลักเนื่องจากรับแรงได้ดีกว่า และใช้เหล็กเส้นกลม ขนาดหน้าตัดเล็กกว่าเป็นเหล็กปลอกรัดรอบเหล็กข้ออ้อยเป็นระยะๆ สังเกตง่ายๆ คือ

  • ในเสาแนวตั้ง จะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กยืน (ตั้งตลอดแนวเสา) และใช้เหล็กเส้นกลมเป็นเหล็กปลอกรัดรอบเหล็กยืนเป็นระยะๆ
  • ในคานแนวนอน จะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กนอน (ยาวตลอดแนวคาน) และใช้เหล็กเส้นกลมเป็นเหล็ก ปลอกรัดรอบเหล็กนอกเป็นระยะๆ และเมื่อมาถึงคำถามที่ว่า

OUR CUSTOMER

เราได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าในส่วนของภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนโครงการต่างๆ มากมาย เป็นความภาคภูมิใจ ในการพัฒนาองค์กรของเราให้มั่นคงมากยิ่งขึ้น