DEFORMED BAR – เหล็กเส้นข้ออ้อย
รายละเอียดสินค้า
เหล็กเส้นข้ออ้อย (Deformed Steel Bars ) หรือเรียกสั้นๆ ว่า DB นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอีกหลากหลายไม่ว่าจะเป็น เหล็กอ้อย เหล็กบั้ง ซึ่งมีลักษณะเป็นปล้องคล้ายกับอ้อย โดยมีระยะบั้งที่สม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น ไม่มีรอยแตกร้าว ซึ่งจะช่วยให้เหล็กยึดเหนี่ยวกับคอนกรีตได้ดี ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน รับรองตามมาตรฐานมอก. 24-2559 โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10 – 40 มิลลิเมตร
ทำให้โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กมีความแข็งแรง เป็นเนื้อเดียวกัน ส่วนมากมักจะใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องการเพิ่มความแข็งแรงให้กับคอนกรีต เช่น คาน เสา พื้นถนน สะพาน เขื่อน บ้าน อาคาร คอนโดมิเนียม สนามบิน และงานก่อสร้างที่มีแรงอัดมากๆ เป็นต้น
มาตรฐาน
- ประเทศไทยได้กำหนดมาตรฐานเพื่อควบคุมคุณภาพ มาตรฐานที่ใช้อ้างอิงคือ มอก. 24-2559
- GRADE : SD40 , SD50
- มีความยาวมาตรฐาน 10 เมตร และ 12 เมตร
Description
เหล็กเส้นข้ออ้อย SD30, SD40 และ SD50 เป็นเหล็กเส้นแบบเดียวกัน ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 10 – 40 มม. และผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) 24-2559 แต่ความแตกต่างของเหล็กแต่ละแบบนั้นจะอยู่ที่ค่ากำลังรับแรงดึงที่จุดคราก (มีหน่วยเป็นกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (กก. / ตร.ซม. หรือ ksc)) เช่น SD30 หมายถึงเหล็กข้ออ้อยที่มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 3,000 ksc ส่วน SD40 และ SD50 หมายถึง เหล็กข้ออ้อยที่มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 4,000 ksc และ 5,000 ksc ตามลำดับ
PRODUCT SPECIFICATION
TYPE (SD40) |
DIAMETER |
Cross Sectional Area |
Weight |
||
(sq.mm) |
kg/m |
kg/10m |
kg/12m |
||
DB10 | 10 | 78.54 | 0.616 | 6.16 | 7.392 |
DB12 | 12 | 113.1 | 0.888 | 8.88 | 10.656 |
DB16 | 16 | 201.06 | 1.578 | 15.78 | 18.936 |
DB20 | 20 | 314.16 | 2.466 | 24.66 | 29.592 |
DB25 | 25 | 490.87 | 3.853 | 38.53 | 46.236 |
DB28 | 28 | 615.75 | 4.834 | 48.34 | 58.008 |
DB32 | 32 | 804.25 | 6.313 | 63.13 | 75.756 |
DB36 | 36 | 1017.88 | 7.99 | 79.9 | 95.88 |
DB40 | 40 | 1256.64 | 9.865 | 98.65 | 118.38 |
สัญลักษณ์ตัว T บนเนื้อเหล็กเส้นข้ออ้อย คืออะไร
สัญลักษณ์ตัว T ย่อมาจาก Tempcore Rebar เป็นหลักการและขั้นตอนการผลิตเหล็กข้ออ้อย ที่ผ่านกระบวนการให้ความร้อน โดยเริ่มด้วยการรีดร้อน เหมือนกับการผลิตเหล็กข้ออ้อยมาตรฐาน แต่หลังจากการที่รีดได้ตามขนาดที่ต้องการแล้ว มีกระบวนการสเปรย์น้ำที่ผิวของเหล็ก และปล่อยให้เหล็กเย็นตัวทั่วทั้งเส้น ทำให้ได้เหล็กที่ได้มาตรฐาน ในอุณหภูมิที่ปกติ โดยกระบวนการ Tempcore นี้ ยังคงคุณสมบัติเหล็กข้ออ้อย ดังต่อไปนี้
- คุณสมบัติทางกล เช่น กำลังดึง การดัดโค้ง ความยืด ซึ่งนับว่าไม่แตกต่างจากเหล็กที่ไม่ผ่านกระบวนการ Tempcore
- การต่อด้วยความยาว ด้วยข้อต่อทางกล หรือ Coupler หรือการเชื่อม ไม่ทำให้กำลังเหล็กลดลง
- การทนไฟ หากมีการหุ้มคอนกรีตตามระยะที่กฏหมายกำหนด ไม่มีผลแตกต่างแต่อย่างใด
- การทดสอบ การทดสอบเหล็กที่ผ่านกระบวนการความร้อนนี้ ไม่ควรมี การกลึงลดขนาดเหล็กก่อนการทดสอบ
ลักษณะเหล็กที่ดี มีคุณภาพ ควรมีข้อพิจารณาสำคัญ 2 หลักการใหญ่
ผิวเหล็ก
- เหล็กเส้นกลม ต้องผิวเรียบเกลี้ยง ไม่มีปีก ลุกคลื่น หน้าตัดกลม ไม่เบี้ยว ไม่มีรอยปริแตก
- เหล็กข้ออ้อย ต้องมีบั้งระยะเท่ากัน สม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น
การผลิตเหล็กเส้น
การผลิตเหล็กเส้น เกิดจากการป้อนเศษเหล็ก ปูนขาว และถ่านโค๊กที่มีคุณภาพในประมาณที่เหมาะสมเข้าเตาอาร์คไฟฟ้า EAF ในระหว่างการหลอมเหล็กที่ได้ จะผ่านกรรมวิธีทางเคมี และความร้อนเพื่อปรุงส่วนผสม เมื่อน้ำเหล็กมีอุณหภูมิและส่วนผสมทางเคมีที่ถูกต้อง หลังจากการตรวจสอบจากห้องทดลองแล้ว น้ำเหล็กจะถูกส่งมายังเครื่องหล่อแบบต่อเนื่อง เพื่อผลิตบิลเล็ตที่มีคุณภาพสูงต่อไป
บิลเล็ตที่ได้นี้ จะถูกนำเข้าตาอบที่อุณหภูมิสูง 1050 องศาเซลเซียส เพื่อปรับสภาพเนื้อเหล็กที่สามารถถูกรีดลดขนาดตามต้องการได้
โลหะวิทยาของเหล็กกล้า
เหล็กเส้นที่ผลิตในประเทศไทยนั้น ในเชิงวิชาการจัดได้ว่าอยู่ในหมวดเหล็กกล้าคาร์บอน ซึ่งเป็นเหล็กที่ได้คุณสมบัติการใช้งานจากธาตุผสมเพียง 3 ธาตุ อันได้แก่ คาร์บอน ซิลิกอน และ แมงกานีส นอกจากเหล็กกล้าคาร์บอนแล้ว เหล็กกลุ่มอื่นๆ ที่สำคัญได้แก่ เหล็กกล้าเครื่องมือและเหล็กกล้าผสม มีธาตุผสมของโครเมี่ยม นิกเกิล วาเนเดียม เหล็กกล้าความเร็วสูง อันได้แก่ เหล็กกล้าสำหรับงานเชื่อม ที่มีแมงกานีสสูง เป็นต้น
เหล็กกล้าคาร์บอนที่ผลิตในประเทศไทย สามารถแบ่งย่อยได้เป็นสองกลุ่ม อันได้แก่ เหล็กกล้าที่มีธาตุคาร์บอนน้อยกว่า 0.25% เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำนี้ นำมาทำเหล็กลวดและเหล็กเส้น กลุ่มที่สองนี้ได้แก่ เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง มีคาร์บอนระหว่าง 0.25-0.35% เหล็กกลุ่มนี้เหมาะที่จะนำไปทำเหล็กข้ออ้อย
ขั้นคุณภาพ |
ส่วนประกอบทางเคมี (หน่วยเป็นร้อยละ) |
||||
คาร์บอนสูงสุด |
แมงกานีสสูงสุด |
ฟอสฟอรัสสูงสุด |
กำมะถันสูงสุด |
คาร์บอน+แมงกานีส/6 |
|
SD30 | 0.27 | - | 0.05 | 0.05 | 0.5 |
SD40 | - | 1.8 | 0.05 | 0.05 | 0.55 |
SD50 | - | 1.8 | 0.05 | 0.05 | 0.6 |
ค่าแรงดึง และการยึดตัวที่เป็นข้อกำหนดการใช้งานของเหล็กกล้าคาร์บอน
โดยจะแบ่งได้เป็นสัดส่วนดังนี้
ส่วนผสมและอัตราส่วนการผสมของคาร์บอน ซิลิกอน แมงกานีส และในบางกรณีมีธาตุวานาเดียมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ความแข็งแรง แต่ขณะเดียวกัน ก็จะลดการยืดตัวของเหล็กเช่นกัน ในขณะที่แมงกานีสจะมีผลในการเพิ่มแรงดึงสูงสุดและการยืดตัว อย่างไรก็ตาม การปรับปริมาณของธาตุทั้งสาม ต้องให้กิดความสมดุล มิฉะนั้นจะทำให้เหล็กไม่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ
คุณภาพของเนื้อเหล็กระหว่างการหลอม และเท เป็นแท่ง เป็นส่วนสำคัญขั้นที่สอง เพื่อให้ได้เหล็กแท่งเนื้อสะอาด มีขนาดผลึก และการกระจายตัวทางเคมีที่สม่ำเสมอ
ประสิทธิภาพและวิศวกรรมของเครื่องรีดและการควบคุมการรีด โดยทางโรงงานเลือกใช้นวัตกรรมของเครื่องจักรสำหรับศตวรรษนี้ อันได้แก่เครื่องจักรทั้งชุด ควบคุมด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ แท่นรีด เป็นระบบ H-V และมีระบบการปรับลดอุณหภูมิของเหล็กที่แม่นยำ
ขั้นคุณภาพ |
ความต้านแรงดึง (เมกะพาสคัล) |
ความต้านแรงดึง (เมกะพาสคัล) |
ความยืด (%) |
SD30 | 480 | 295 | 17 |
SD40 | 560 | 390 | 15 |
SD50 | 620 | 490 | 13 |
เหล็กข้อกลม กับ เหล็กข้ออ้อย ?
เหล็กเสริมในคอนกรีตแบ่งง่ายๆ เป็นสองประเภท คือ เหล็กเส้นกลม (Round Bars : RB) และเหล็กข้ออ้อย (Deformed Bars : DB) เหล็กเส้นกลมจะมีขนาดหน้าตัดประมาณตั้งแต่ 6 – 28 มม.ส่วนเหล็กข้ออ้อยจะมีขนาดหน้าตัดประมาณตั้งแต่ 10 – 40 มม. เหล็กทั้งสองประเภท จะมีการใช้งานที่แตกต่างกันโดยจะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นหลักเนื่องจากรับแรงได้ดีกว่า และใช้เหล็กเส้นกลม ขนาดหน้าตัดเล็กกว่าเป็นเหล็กปลอกรัดรอบเหล็กข้ออ้อยเป็นระยะๆ สังเกตง่ายๆ คือ
- ในเสาแนวตั้ง จะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กยืน (ตั้งตลอดแนวเสา) และใช้เหล็กเส้นกลมเป็นเหล็กปลอกรัดรอบเหล็กยืนเป็นระยะๆ
- ในคานแนวนอน จะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กนอน (ยาวตลอดแนวคาน) และใช้เหล็กเส้นกลมเป็นเหล็ก ปลอกรัดรอบเหล็กนอกเป็นระยะๆ และเมื่อมาถึงคำถามที่ว่า
เหล็กเส้น ที่มีคุณภาพ ดูยังไง?
จะต้องมีป้ายฉลากบอกรายละเอียดสินค้า เมื่อมีการผลิตเหล็กเส้นออกจำหน่าย ผู้ผลิตจะต้องติดป้ายเหล็กเพื่อบอกรายละเอียดที่เป็นข้อมูลสำคัญ ได้แก่
- บริษัทผู้ผลิต ประเภทสินค้า (Type)
- ชั้นคุณภาพ (Grade)
- ขนาด (Size)
- ความยาว (Length)
- วันเวลาที่ผลิต (Date/Time)
- เครื่องหมาย มอก.
การใช้งานเหล็กข้ออ้อย
- ใช้ทำตะแกรงไวร์เมช
- ใช้เสริมคอนกรีต เช่นหล่อเสา
- ใช้ผูกเป็นไวร์เมช
- ใช้ทำปลอกเสา
- ใช้ทำปลอกคาน
APPLICATIONS
สำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็ก
OUR CUSTOMER
เราได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าในส่วนของภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนโครงการต่างๆ มากมาย เป็นความภาคภูมิใจ ในการพัฒนาองค์กรของเราให้มั่นคงมากยิ่งขึ้น