H-BEAM – เหล็กเอชบีม
รายละเอียดสินค้า
เหล็กเอชบีม (H – BEAM) เป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน อีกแบบหนึ่ง เหมาะสำหรับงานส่วนโครงสร้างหลักของอาคาร เหล็กมีคุณสมบัติในการรับแรง รับน้ำหนักมากๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราจะพบเห็นเหล็กเอชบีมใช้เป็นโครงสร้าง เช่น ส่วนเสาและคาน ทั้งอาคารสูงและบ้านพักอาศัย, สะพาน, โกดัง ,โรงงาน และสนามกีฬา อาจใช้ประกอบเป็นส่วนของโครงถัก ทำอาคารที่ยื่นยาว (cantilever)
เหล็กเอชบีม มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น เหล็กตัวเอช เสาเอช เหล็กปีกไอ เสาบีม โดยเหล็กเอชบีม มีลักษณะหน้าตัดเป็นรูปตัวเอช (H) ขนาดความสูง และความกว้างแต่ละด้านเท่ากัน มีปีกกว้าง (Wide Flange) เป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน Hot Rolled Structural Steel Sections มีหน้าตัดเป็นรูปลักษณะต่างๆ ใช้ในงานโครงสร้างการรีดร้อนคือการรีด และแปรรูป ที่อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิวิกฤต Critical temperature เหล็กเอชบีม สามารถต้านทานการตัดโค้ง (Bending) และการบิด (Twisting) ได้ดี จึงใช้เป็น เสา (Columns), คาน (Beams) และตงพื้น (Bridge girders) ในงานก่อสร้างและงานสถาปนิก ใชเแทนคานคอนกรีต หรือเสาคอนกรีต
มาตรฐาน
ประเทศไทยได้กำหนดมาตรฐานเพื่อควบคุมคุณภาพ มาตรฐานที่ใช้อ้างอิงคือ มอก. 1227-2558 (2015)
GRADE : SS400 SS490 SS540 SM400 SM490 SM520
มีความยาวให้เลือกตั้งแต่ 1 เมตร, 6 เมตร, 9 เมตร, 12 เมตร
Description
เหล็กเอชบีม โดยขนาดที่ใช้ปกติจะเป็น ด้านXด้าน เท่ากัน เช่น 100×100, 125×125, 150×150, 175×175, 200×200, 250×250, 300×300, 350×350, 400×400 หน้าตัดที่เป็นรูปทรงของเหล็กรูปพรรณรีดร้อน
ทำให้เหล็กมีคุณสมบัติในการรับแรงในแนวต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยน้ำหนักที่เบากกว่าโครงสร้างคอนกรีต ทำให้ง่ายต่อการใช้งานและประหยัดเวลามากขึ้น
ข้อดีของการใช้เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน
- ลดระยะเวลาการก่อสร้าง ทำให้ลดภาระดอกเบี้ยของโครงการ เปิดใช้งานได้รวดเร็ว
- เตรียมงานจากโรงงานได้ และใช้แรงงานน้อยกว่าการก่อสร้างด้วยระบบอื่น
- ออกแบบโครงสร้างให้มีช่วงเสากว้าง กว่าโครงสร้างระบบอื่น ไม่เปลืองพื้นที่ใช้งาน
- ออกแบบงานสถาปัตยกรรมได้หลากหลายเช่น ตัดโค้ง ทำใครงสร้างโปร่ง หรือทำส่วนยื่่นได้มาก
- โครงสร้างมีน้ำหนักเบา ทำให้ประหยัดฐานราก ลดการขนส่ง และพื้นที่กองเก็บวัสดุ
- ตรวจสอบ ควบคุมคุณภาพ และบำรุงรักษาได้สะดวกกว่าโครงสร้างอื่น
- มีความแข็งแรง สามารถรับแรงสั่นสะเทือนและแผ่นดินไหว ได้ดีกว่าโครงสร้างระบบอื่น
- ก่อสร้างในที่จำกัดได้สะดวก ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะฝุ่น
- ดัดแปลง ต่อเติม หรือรื้อไปสร้างใหม่ได้ ไม่ต้องทุบทิ้ง
- สามารถนำวัสดุมาหมุนเวียนได้ 100%
PRODUCT SPECIFICATION
Nominal Size |
Standard Sectional Dimension |
Weight |
|||||||
H |
B |
t1 |
t2 |
r |
|||||
mm |
mm |
mm |
mm |
mm |
mm |
kg/m |
kg/6m |
kg/9m |
kg/12m |
100×100 | 100 | 100 | 6 | 8 | 10 | 17.2 | 103.2 | 154.8 | 206.4 |
125×125 | 125 | 125 | 6.5 | 9 | 10 | 23.8 | 142.8 | 214.2 | 285.6 |
150×150 | 150 | 150 | 7 | 10 | 11 | 31.5 | 189 | 283.5 | 378 |
175×175 | 175 | 175 | 7.5 | 11 | 12 | 40.2 | 241.2 | 361.8 | 482.4 |
200×200 | 200 | 200 | 8 | 12 | 13 | 49.9 | 299.4 | 449.1 | 598.8 |
200×200 | 200 | 204 | 12 | 12 | 13 | * 56.2 | 337.2 | 505.8 | 674.4 |
200×200 | 208 | 202 | 10 | 16 | 13 | 65.7 | 394.2 | 591.3 | 788.4 |
250×175 | 244 | 175 | 7 | 11 | 16 | v 44.1 | 264.6 | 396.9 | 529.2 |
250×250 | 244 | 252 | 11 | 11 | 16 | 64.4 | 386.4 | 579.6 | 772.8 |
250×250 | 248 | 249 | 8 | 13 | 16 | * 66.5 | 399 | 598.5 | 798 |
250×250 | 250 | 250 | 9 | 14 | 16 | 72.4 | 434.4 | 651.6 | 868.8 |
250×250 | 250 | 255 | 14 | 14 | 16 | * 82.2 | 493.2 | 739.8 | 986.4 |
300×300 | 294 | 302 | 12 | 12 | 18 | * 84.5 | 507 | 760.5 | 1014 |
300×300 | 298 | 299 | 9 | 14 | 18 | 87 | 522 | 783 | 1044 |
300×300 | 300 | 300 | 10 | 15 | 18 | 94 | 564 | 846 | 1128 |
300×300 | 300 | 305 | 15 | 15 | 18 | * 106 | 636 | 954 | 1272 |
300×300 | 304 | 301 | 11 | 17 | 18 | * 106 | 636 | 954 | 1272 |
350×350 | 338 | 351 | 13 | 13 | 20 | * v 106 | 636 | 954 | 1272 |
350×350 | 344 | 348 | 10 | 16 | 20 | 115 | 690 | 1035 | 1380 |
350×350 | 344 | 354 | 16 | 16 | 20 | * 131 | 786 | 1179 | 1572 |
350×350 | 350 | 350 | 12 | 19 | 20 | 137 | 822 | 1233 | 1644 |
350×350 | 350 | 357 | 19 | 19 | 20 | * 156 | 936 | 1404 | 1872 |
400×400 | 388 | 402 | 15 | 15 | 22 | 140 | 840 | 1260 | 1680 |
400×400 | 394 | 398 | 11 | 18 | 22 | 147 | 882 | 1323 | 1764 |
400×400 | 400 | 400 | 13 | 21 | 22 | 172 | 1032 | 1548 | 2064 |
400×400 | 400 | 408 | 21 | 21 | 22 | 197 | 1182 | 1773 | 2364 |
400×400 | 414 | 405 | 18 | 28 | 22 | * 232 | 1392 | 2088 | 2784 |
หมายเหตุ
* คือ กรุณาติดต่อ เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม
v คือ VALUE SERIES
การผลิตเหล็กเอชบีม
เหล็กเอชบีม (H-BEAM) คือ เหล็กรูปพรรณรีดร้อน (Hot-Rolled Structural Steel) ที่เกิดจากการหลอมและหล่อเป็นเหล็กแท่ง แล้วรีดในขณะที่เหล็กยังร้อนให้มีหน้าตัดเป็นรูปตัวอักษรภาษาอังกฤษ “H”
ตามการเรียกชื่อ รูปแบบของหน้าตัดจะมีปีก (Flange) กว้างออกมาจากเอว (Web) ตรงกลาง โดยจะมีความหนาของเหล็กในส่วนปีกเท่ากันตลอด ไม่มีการปาดหรือลบมุมที่ปลายปีก
กระบวนการผลิตเหล็กโครงสร้าง รูปพรรณรีดร้อน เริ่มจากการนำเศษเหล็กมาหลอมในเบ้าขนาดใหญ่ด้วยความร้อนสูงกว่า 1600 องศาเซลเซียส จนกลายเป็นน้ำเหล็ก แล้วเติมโลหะปรุงแต่งส่วนผสมเพื่อให้มีความแข็งแรงตามเกรดที่ต้องการ เมื่อปรุงแต่งส่วนผสมแล้ว จึงนำมาหล่อให้เป็นแท่ง หลังจากนั้น นำเหล้กแท่งมารีดด้วยแท่นรีดขนาดใหญ่ ที่อุณหภูมิประมาณ 1200 องศาเซลเซียส รูปร่างหน้าตัดของเหล็กแท่งจะถูกลดขนาดและแปรเปลี่ยนไปตามแบบของลูกรีด จนมีขนาดมาตรฐาน จุดสำคัญในการการทำคือ การควบคุมส่วนประกอบทางเคมีของการหลอมแต่ละเบ้า Heat การรีดเหล็กร้อนให้เป็นรูปร่างที่มีความกว้างและความหนาให้พอดีตามที่กำหนด และการทดสอบความแข็งแรง
เนื่องจากผลิตโดยการหลอมและรีดร้อนขึ้นเป็นท่อน เหล็กโครงสร้างชนิดนี้จึงมีเนื้อเดียวกัน ไม่มีรอยเชื่อมระหว่างส่วนต่างๆ ดังนั้นคุณสมบัติของหน้าตัดจึงสม่ำเสมอกว่าเหล็กโครงสร้างชนิดอื่นเช่น เหล็กรูปพรรณกลวงซึ่งทำจากเหล็กม้วนและเชื่อมตามยาว กับเหล็กโครงสร้างรูปพรรณเชื่อมประกอบที่ทำจากเหล็กแผ่นสามชิ้นเชื่อมเข้าด้วยกัน
การใช้งานเหล็กเอชบีม
เหล็กเอชบีมเหมาะสำหรับการใช้งานเป็นโครงสร้างคาน เสา และโครงสร้างหลังคา ทั้งในอาคารบ้านพักอาศัย โรงงาน อาคารสูง หรือสนามกีฬา ทั้งนี้เหล็กเอชบีม (H-BEAM) ตามมาตรฐาน ASTM ของประเทศสหรัฐอเมริกาจะเรียกว่าเหล็ก Wide Flange (W-Shape)
เทคนิคการใช้เหล็ก H-beam ทำโครงสร้างอาคาร
สำหรับเทคนิคในการใช้เหล็ก H-beam ทำโครงสร้างอาคาร ควรเลือกตามนี้
ในการออกแบบสถาปัตยกรรมและงานโครงสร้างอาคาร มักเกี่ยวข้องกับเรื่องของการใช้งาน (ฟังก์ชัน) และความสวยงามเสมอ และเหล็ก H-BAEM เป็นวัสดุเดียวที่ตอบโจทย์เรื่องข้างต้นได้อย่างตรงประเด็น เพราะเป็นวัสดุโครงสร้างที่ไม่ต้องการวัสดุอื่นมากรุทับ หรือสามารถโชว์ให้เห็นการใช้งานและพื้นผิวที่แท้จริงได้ อีกทั้งในตำแหน่งของเสาที่ยื่นลอยออกมาจากแนวผนัง (เสาลอย) อาจจะเพื่อรับหลังคาหรือรับพื้นชั้นบน การใช้เสา H-BEAM ก็เป็นรูปแบบหนึ่งที่ทำให้อาคารดูทันสมัย สวยงามและไม่หนาหนักนั่นเอง
ส่วนหลักการนั้นอาจไม่มีอะไรมากมาย เพียงออกแบบเสา H-BEAM ตามหลักการออกแบบวิศวกรรม แต่เลือกที่จะหันด้านขาของตัว H-BEAM ออก ให้เห็นเส้นความหนาของตัวเสา ก็จะช่วยเพิ่มมิติให้กับตัวอาคารได้เป็นอย่างดีนั่นเอง
และนอกจากเรื่องของความสวยงาม เรายังสามารถซ่อนงานระบบเช่นงานสายไฟ งานปลั๊กไฟ ไว้ที่เสา H-BEAM ได้ด้วย เรียกว่าเป็นความงามที่มาพร้อมประโยชน์ใช้สอยจริงๆ
APPLICATIONS
สำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็ก
OUR CUSTOMER
เราได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าในส่วนของภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนโครงการต่างๆ มากมาย เป็นความภาคภูมิใจ ในการพัฒนาองค์กรของเราให้มั่นคงมากยิ่งขึ้น